Support
bangkoklab
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ขึ้นฉ่าย

blc@bangkoklab.co.th | 18-01-2562 | เปิดดู 2382 | ความคิดเห็น 0
  • product id 1177439,830982
  • product id 2177439,830984

 

 

 

 

ขึ้นฉ่าย มาจากชื่อภาษาจีน 芹菜 ออกเสียงว่า “ฉินช่าย” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apium graveolens L . เป็นผักที่มีกลิ่นหอม นิยมใช้ในการปรุงอาหารเพื่อดับกลิ่นคาว เช่น ต้มกับ น้ำซุปกระดูกหมู นึ่งปลา หรือ ผัดปู

 

 

 

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

   ขึ้นฉ่ายเป็นพืชล้มลุก มีอยู่ 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์แรก คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะต้นจะอวบใหญ่มาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร อีกสายพันธุ์ คือ ขึ้นฉ่ายจีน ซึ่งจะมีขนาดของลำต้นที่เล็กกว่า สูงประมาณ 30 เซนติเมตร ใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้าม ใบสีเขียวอ่อน ใบย่อย เป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักก้านใบยาวแผ่ออกเป็นกาบ มีลักษณะกรอบ ฉ่ำน้ำ ดอกช่อแบบร่ม (compound umbels) สีขาว ผลมีขนาดเล็กมาก รูปรี สีน้ำตาล

 

สรรพคุณทางยา

   พบหลักฐานการใช้ขึ้นฉ่ายมานานกว่า 3,000 ปี ในอียิปต์และจีน ใช้ส่วนของต้นและเมล็ดเป็นอาหารและยา รักษาโรคข้อ เกาต์ อาการอักเสบ หอบ ความดันโลหิต ขึ้นฉ่ายมีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง ทำให้หลอดเลือดขยายตัว จึงช่วยลดความดันโลหิต (Jorge, et al., 2013) รับประทานผักขึ้นฉ่าย วันละ 4 ก้าน หรือใช้ต้นสด 1-2 กำ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำรับประทานก่อนอาหารครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ หรือรับประทานเป็นผักสดร่วมกับ อาหาร ช่วยขับปัสสาวะเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นนิ่ว และช่วยลดอาการบวมน้ำในสตรีก่อนการมีประจำเดือนช่วยทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ จึงช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน ใช้ขึ้นฉ่ายสด รากบัวสด ขิงสด อย่างละ 1 ขีด พุทราจีนแห้ง 1/2 ขีด นำมาต้มรวมกันในหม้อ น้ำพอท่วม ดื่มเป็นชาก่อนมีประจำเดือน ช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันในเส้นเลือด

 

   อินเดียโบราณใช้รักษาโรคตับ ช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง ฟื้นฟูตับจากการถูกทำลายโดยสารพิษ โดยทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปัญจาบ ประเทศอินเดียวิจัยในหนูพบว่า ขึ้นฉ่ายทำให้ระดับของ SGOT และ SGPT  ซึ่งเป็นค่าบ่งชี้ประสิทธิภาพของตับอยู่ในระดับปกติ เมื่อเทียบกับหนูทดลองซึ่งได้รับพาราเซตามอลและไธโออะเซตาไมด์ซึ่งมีพิษต่อตับและทำให้ระดับของ SGOT และ SGPT สูง (Singh, and Handa, 1995.)

 

 

 

ประสิทธิภาพการยับยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ  COX-I,  COX-II ของสาร 7 ชนิดในเมล็ดขึ้นฉ่าย 250 mcg/ml มีฤทธิ์เปรียบเทียบกับยาไอบูโพเฟนและนาโพรเซน 2.06 และ 2.52 mcg/ml มีโซเดียมอินทรีย์ที่สามารถช่วยปรับความเป็นกรดและด่างในเลือดให้สมดุล  

 

น้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณเป็นยากล่อมประสาท ทำให้รู้สึกสบาย และนอนหลับได้ดี มีการทดลองในหนูพบว่า ทำให้หลับง่ายขึ้นและระยะเวลาการนอนต่อเนื่องยาวนานขึ้นเมื่อเทียบกับยา Diazepam (Tanasawet, et al., 2017.)

 

ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง เนื่องจากขึ้นฉ่ายอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส ขึ้นฉ่ายช่วยทำความสะอาดเลือดช่วยทำให้ร่างกายสะอาด

 

อ้างอิง

- Singh, A. and Handa, S.S. 1995. Hepatoprotective activity of Apium graveolens and Hygrophila
  auriculata against paracetamol and thioacetamide intoxication in rats. Journal of 
  Ethnopharmacology. 49: 119-26. 
- Momin, R. A. and Nair, M. G. 2002. Antioxidant, cyclooxygenase and topoisomerase inhibitory 
  compounds from Apium graveolens Linn. seeds. Phytomedicine. 9: 312-8.
- Tanasawet, S., et al., 2017. Anxiolytic and free radical scavenging potential of Chinese celery 
  (Apium graveolens) extract in mice. Asian Pacific Journal of Tropical Biomedicine.7: 20-6.
- Jorge, V.-G., et al., 2013. Vasorelaxant activity of extracts obtained from Apium 
  graveolens: Possible source for vasorelaxant molecules isolation with potential 
  antihypertensive effect. Asian Pacific Journal of Tropical Biomedicine. 3: 776-9.

 

 

 


    

ความคิดเห็น

วันที่: Thu Apr 25 20:02:36 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0
Desktop Version
 
Google analytics